วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

รู้รึไหมสามารถนำของเหลวขึ้นเครื่องได้ไม่เกินชิ้นละ 100 มิลลิลิตร รวมกันไม่เกิน 1000 มิลลิลิตร

รู้รึไหมสามารถนำของเหลวขึ้นเครื่องได้

ไม่เกินชิ้นละ 100 มิลลิลิตร 

รวมกันไม่เกิน 1000 มิลลิลิตร


หลายคนคงเคยขึ้นเครื่องแล้วมีคนบอกต่อๆกันว่าห้ามเอาของเหลวขึ้นเครื่อง บางคนถึงกับกำจัดทุกอย่างทิ้งไว้ที่ห้องพักหรือบ้างคนพยายามากกว่าถึงกับส่งพัสดุตามกลับมา แต่รู้รึไหมของเหลวสามารถเอาขึ้นเครื่องได้แต่ต้องจำกัดจำนวนและปริมาณ

วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับ กฎและวิธีปฏิบัติ “การนำของเหลวขึ้นเครื่องบิน” (เครดิต - http://www.thaiticketmajor.com/variety/travel/6664/ )


อย่างไหนเรียกว่าเป็นของเหลว?
จะดูว่าผลิตภัณฑ์ของคุณนับเป็นของเหลว ก็มีวิธีง่ายๆ คือ เนื้อของผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีประกอบของน้ำอยู่มากกว่าส่วนประกอบอื่นๆ สามารถไหลไปมาในขวดและซึมเปื้อนเละเทอะได้ในกรณีขวดที่บรรจุเกิดแตกชำรุด และแม้ว่าผลิตภัณฑ์ของเหลวของคุณ จะบรรจุมาในรูปของ หลอดพลาสติก ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ตลับ ซองแพค อะไรก็ตาม ต้องนำมานับรวมปริมาตรทั้งหมด


ปริมาณของเหลวดูที่ไหน?
ปริมาณของเหลวที่อนุญาติให้นำติดตัวขึ้นเครื่องบินได้นั้น รวมทั้งหมดทุกชิ้นแล้วต้องไม่เกิน 1,000 ML. ไม่แนะนำให้กะประมาณด้วยตาเปล่า วิธีก็คือให้ดูตัวเลขระบุปริมาณที่บริเวณข้างขวดบรรจุภัณฑ์ เอามาบวกรวมกันค่ะ แม้ว่าของเหลวภายในขวดจะเหลืออยู่น้อยกว่าครึ่ง หรือเกือบติดก้นขวดแล้ว แต่การนับปริมาณตามกฏนั้นต้องวัดกันที่ปริมาตรของบรรจุภัณฑ์ หรือตัวเลขที่ระบุข้างขวดนั้นเอง เพื่อให้สะดวกและง่ายต่อการเดินทางแต่ละครั้ง แนะนำให้ถ่ายเทของเหลวที่ต้องการนำติดตัวไป ลงในขวดเล็กๆ ที่ระบุปริมาตร 100 Ml. ต่อ 1 ชิ้น
นับรวมแล้วไม่เกิน 10 ชิ้น ไม่ขาดไม่เกินและพอเหมาะพอดีกับระยะเวลาการใช้งานบนเครื่องบินอีกด้วย หากต้องการนำไปเกินกว่านั้น ก็จัดโหลดลงไปพร้อมกระเป๋าเดินทางใบใหญ่จะ
สะดวกกว่ามากทีเดียว
ทั้งนี้ ของเหลวประเภทยา นม อาหารเด็กทารก จะได้รับการยกเว้นตามกรณี และสามารถนำขึ้นเครื่องได้ในปริมาณเหมาะสมต่อการเดินทางค่ะ



ถุงที่จะใส่บรรจุภัณฑ์ของเหลว หรือถุงซิปล็อค?
เพื่อให้การสแกนกระเป๋าเป็นไปอย่างรวดเร็ว การรวมขวดบรรจุภัณฑ์เล็กๆ เข้าไว้ในถุงพลาสติกใสถุงเดียวกันจะทำให้ไม่กระจัดกระจายในกระเป๋าของคุณเองและเห็นง่ายต่อการสแกน และสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้จากความกดอากาศบนที่สูงทำให้เกิดแรงดันในขวด ของเหลวอาจหกเลอะเทอะ ก็ควรจะปิดปากถุงให้สนิท ซึ่งเลือกเป็นถุงที่มีซิปล็อค จะง่ายและเก๋กว่ามัดด้วยหนังยาง ถุงของเหลวสำคัญนี้ ผู้โดยสารสามารถขอรับที่ท่าอากาศยานก็มีไว้ให้ตามจุดตรวจค้นก่อนเข้าเครื่องสแกน แต่หากไม่อยากเสียเวลารื้อค้นให้วุ่นวาย จะเตรียมแพคเองตั้งแต่ที่บ้านสะดวกที่สุด


ทำไมจำกัดแค่ 100ml.?
เรื่องนี้ องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนดในปริมาณของเหลวก็เพื่อให้สามารถจำกัดปริมาณ และตรวจสอบได้ว่า ของเหลวที่ถูกนำขึ้นเครื่องบินนั้น จะไม่สามารถนำมาเป็นสารประกอบในการก่อการร้ายในรูปแบบต่างๆ ได้ ดังเช่นมีกรณี เดือนธันวาคม 2552 เมื่อนายอับดุล ฟารุก อุมาร์ อาบูลมูตาลลับ แอบนำผงสารเคมีและของเหลวปริมาณมากขึ้นเครื่องบิน เพื่อพยายามระเบิดเครื่องบินสายการบินหนึ่งในยุโรป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก จึงออกกฎห้ามนำของเหลวเกินกว่า 100 มิลลิลิตรขึ้นเครื่องมาใช้ เพราะปริมาณที่กาหนดนี้เป็นปริมาณน้อยเกินกว่าจะใช้เป็นส่วนประกอบของระเบิดได้ หากจะพยายามทำระเบิดจะต้องรวบรวมของเหลวจากคนอื่นๆ ในเครื่องถึง 10 คนจึงจะทำได้ แต่ก็คงเป็นที่สังเกตได้ง่าย
สำหรับประเทศไทย กรมการขนส่งทางอากาศออกมาตรการห้ามนำของเหลวขึ้นเครื่องบินทั้งภายในและระหว่างประเทศ ตามกฎระเบียบขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2550



ของเหลวใน Duty Free ทำไมขึ้นเครื่องได้?
สินค้าที่เป็นของเหลวซึ่งซื้อจากร้านดิวตี้ฟรีทุกชนิดจะผ่านการตรวจสอบหมดแล้ว เมื่อนำสินค้าขึ้นเครื่องจะมีถุงใส่ให้อย่างมิดชิด มีตราประทับเพื่อให้รู้ที่มาที่ไปของของเหลวที่จะนำขึ้น เครื่อง ซึ่งเห็นได้จากวิธีการบรรจุสินค้าประเภทของเหลว เจล หรือสเปรย์ ซึ่งซื้อจากร้านค้าปลอดอากรหรือดิวตี้ฟรีที่สนามบินหรือซื้อบนเครื่องบิน จะต้องถูกบรรจุไว้ในถุงพลาสติกใสซึ่งปิดผนึกปากถุงและไม่มีร่องรอยผิดปกติให้สงสัยว่ามีการเปิดปากถุงหลังจากการซื้อ และมีหลักฐานแสดงว่าซื้อจากร้านค้าปลอดอากรที่สนามบิน หรือบนเครื่องบินในวันที่ผู้โดยสารนั้นๆ เดินทาง เป็นอีกหนึ่งมาตรการของความปลอดภัย




     ในเว็บไซต์ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ระบุว่า ของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่น ๆ กรณีเป็นของส่วนตัว หากต้องการนำติดตัวขึ้นเครื่อบินต้องบรรจุในภาชนะที่จุไม่เกิน 100 มิลลิลิตร (กรณีภาชนะความจุเกิน 100 มิลลิลิตร ของเหลวที่บรรจุอยู่แม้จะไม่เกิน 100 มิลลิลิตร ก็ไม่อนุญาตให้นำขึ้นไปในห้องโดยสารอากาศยาน)
( เครดิต - https://www.pptvhd36.com/sport/news/25809 )



สำหรับการเดินทางโดยสารด้วยเครื่องบิน มีกฎระเบียบในการใช้บริการ ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
1. ห้ามนำของเหลวถือขึ้นเครื่องเกินชิ้นละ 100 มิลลิลิตร หากมีความจำเป็นต้องนำของเหลวติดตัวไปด้วยเช่นพวกแชมพู สบู่เหลว ให้ใช้วิธีแบ่งใส่ขวดเล็กๆ หรือถุงใสที่มีปริมาตรไม่เกิน 100 ml โดยวิธีนี้เราสามารถนำของเหลวติดตัวรวมกันแล้วไม่เกิน 1,000 มิลลิลิตร ขนาดของของเหลวจะยึดจากฉลากบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก เช่น ครีม ที่ฉลากติดไว้ว่า 120มิลลิลิตร ถึงแม้ว่าจะใช้ไปแล้วครึ่งหนึ่งก็ไม่สามารถนำติดตัวไปได้ แต่ในกรณีของเหลวโหลดเป็นสัมภาระใต้ท้องเครื่องจะไม่จำกัดปริมาณ
2. ห้ามนำของมีคม วัตถุไวไฟ อาวุธ ถือขึ้นเครื่อง เช่นกรรไกร มีด คัทเตอร์ ดอกไม้ไฟ ถ้าเจ้าหน้าที่ตรวจเจอจะต้องถูกทิ้งขยะ
3.นำสัตว์เลี้ยงเดินทางออกนอกประเทศต้องปฎิบัติตามกฎของการท่าอากาศยาน เเละเเจ้งต่อสำนักงานการเดินทาง โดยมีสัตว์เลี้ยง ซึ่งจะเป็นผู้ดูเเลเเนะนำในเรื่องข้อบังคับต่างๆ ขั้นตอนการส่งสัตว์เลี้ยง (สุนัข แมว นก ฯลฯ) ออกนอกประเทศ
4.เด็กที่ไม่มีผู้ปกครองร่วมเดินทางด้วย สามารถเดินทางเข้าประเทศ ออกนอกประเทศ เเละเปลี่ยนเที่ยวบินในประเทศไทย ผู้ปกครองต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนเดินทางเพราะทางสายการบินจำกัดจำนวนเด็กไว้ด้วย คือมีอายุระหว่าง 8-11 ปี และรับเพียง 1 คน เท่านั้น ส่วน 5-7 ได้ไม่เกิน 6 คน ถ้ามี อายุระหว่าง 8-11 ปี สามารถรับได้ไม่เกิน 30 คน ต่อหนึ่งเที่ยวบิน


รูปเพิ่มเติม (เครดิต - จากสนามบินตรัง ถ่ายกับมือถือเบี้ยวๆหน่อยนะ)

3ZLc6l.jpg 

3ZLwXP.jpg 

3ZLR1v.jpg 

3ZLxAE.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

FeedBurner